Wednesday, August 12, 2009

stefan sagmeister, designer i like


STEFAN SAGMEISTER'S PROFILE




















- Stefan Sagmeister เกิดในปี 1962 ที่เมือง Bregenz ประเทศออสเตรีย ครอบครัว Stefan Sagmeister ทำธุรกิจเกี่ยวกับการออกแบบแฟชั่น
- Stefan Sagmeister ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนประจำท้องถิ่นที่เกี่ยวกับวิศวกรรม จากนั้นในปี 1981 Stefan Sagmeister ได้ย้ายไปเรียนกราฟฟิกดีไซน์ที่ Vienna University of Applied Arts
จบการศึกษาปริญญาปีชั้น 1 ในปี 1985

- ต่อมาเขาได้เริ่มต้นใช้ชีวิตที่ New York

- ในปี 1987 เขาได้ในทุนการศึกษาเพื่อเข้าไปเรียนที่ Pratt Instit
ute และเขาได้กลับบ้านเกิดที่ Vienna อีกครั้งเพื่อรับใช้ชาติเขาได้เกณฑ์ทหารและได้ทำงานในเขตผู้ลี้ภัยและได้ออกแบบ
โปสเตอร์สำหรับงานเทศกาล Nickelsdorf jazz

- ย้ายไปอยู่ที่ Hongkong ในปี 1991 เพื่อเข้าไปทำงานในบริษัทของ Leo Burnett

- ในปี 1993 เขาได้กลับไปที่ New York อีกครั้ง เพื่อทำงานกับ Tibor Kalman ที่บริษัทM&Co หลังจากนั้นอีก6เดือนต่อมา Kalman ได้ปิดบริษัทM&Co ลงไป แต่เขาก็ได้เปิดสตูดิโอของตัว
เองขึ้นมา

- ในปี 2000 Sagmeister ได้หยุดทำงา
นในปีนี้ เพื่อวางแผนทำงานทดลองงานต่างๆ และในปี 2001 เขาก็ได้เปิดสตูดิโอของเขาอีกครั้ง เพื่อจัดพิมพ์หนังสือของเขา ที่มีชื่อว่า “Made You Look”ซึ่งเป็นหนังสือที่ผู้คนต่างกล่าวขวัญกันอย่างแพร่หลาย

- ในปี 2004 เขาได้ไปเป็นวิทยากรที่ Berlin และเขายังได้เผยความลับของ “Trying to look good limits my life” ซึ่งเป็นเรื่องราวในภาพต่างๆ


PORTFOLIO







































MADE YOU LOOK



















- Made you Look เขาทำเพราะความต้องการส่วนตัวของเขา 

- หนังสือเล่มนี้ยังเป็นห้องโชว์ผลงานที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ โดยจะDesign เพื่อลูกค้าก่อน
และมีเนื้อหาตามมาทีหลัง

- หนังสือเล่มนี้ยังประกอบไปด้วยข้อคิดและกลอุบายในการมองเห็น ซึ่งทำให้เกิดความน่าสนใจ

- หนังสือเล่มนี้ได้รับ feed back ตอบกลับมาจากแรงบันดาลใจของ Stefan เขาบอกว่า
เขาเดินไปเรื่อยๆ แล้วนั่งจิบกาแฟข้างทาง แล้วนั่งดูผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา หรือทำ research นอกจากนี้ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับเราได้กว่าจะมาเป็น Idea?

- ได้คิดเกี่ยวกับ Project จากมุมมองที่สามารถเป็นไปได้ บางอย่างที่ได้มาอาจได้มา จากตัวคุณเอง จากแม่คุณ จากลูกค้า จากสี หรือจาก font ต่างๆ

- บางครั้งการสร้าง Idea ก็เกิดจากการเขียนสิ่งต่างๆ ลงใน card (สิ่งที่เป็นไปได้) แล้วนำมาวาง
กองรวมบนโต๊ะ แล้วนำมาหาความสัมพันธ์ ถ้าคิดไม่ออกก็ให้ลืมมันไป Idea จะมาเองเมื่อคุณ
ไม่ได้นึกถึงมัน

- พื้นฐานของการออกแบบ คือ คิด , ทำเป็นข้อๆ , ตั้งสมาธิ , พบปะพูดคุยกับลูกค้า , ฟังเพลง , ดู Sketch book เก่าๆของตัวเอง


Sagmeister’s theory

- แซกไมสเตอร์พูดถึงเทคนิคที่เขานำมาใช้ในงานออกแบบบ่อยครั้ง ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า
มันเกี่ยวข้องกับทฤษฎีการรับสารด้วย

“ กราฟฟิกดีไซน์นั้นต่างจากภาพยนตร์และงานเขียนอยู่มาก ผู้รับสารของเราจะสนใจสิ่งตรงหน้า
แค่เพียงไม่นาน เหมือนเวลามีคนยื่นนามบัตรให้คุณ คุณจะมองผ่านมันเพียงแวบเดียวเท่านั้น แล้วก็เก็บใส่กระเป๋า หรือถ้าเป็นหน้าเว็บไซต์ คุณก็อยู่กับมันแค่นาทีสองนาทีเอง”

“ ภายในเวลาสั้นๆ ตรงนั้น เราต้องดึงความสนใจจากผู้รับสารให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นนามบัตร หนังสือ หรืออะไรก็ตาม อาจจะออกแบบให้มันเคลื่อนไหวได้ มีรูปร่างหน้าตาที่ไม่ธรรมดา ทำยังไงก็ได้
ให้ผู้คนใช้เวลาอยู่กับผลงานนานขึ้นกว่าปกติ จริงๆ กลเม็ดเรียกความสนใจมันก็มีหลายอย่างนะ
มุขตลกหรือการแกล้งให้ตกใจก็เป็นวิธีหนึ่ง แต่สำหรับ ผมแล้วผมชอบให้คนมีส่วนร่วมในการรับชม
ผลงานของผมมากกว่า ”


graphic design that touches people's heart

- กลายเป็นวิชาสอนที่ School of Visual Arts , Cooper Union และ Kunste ชื่อวิชา Can design touch someone's heart?

- เขาเคยเขียนไว้ในบทความของเขาว่า งานออกแบบที่ดี ควรจะต้องมีองค์ประกอบที่ดี 2 อย่าง คือ การออกแบบที่ดี (good design) กับ จุดมุ่งหมายที่ดี (good cause)

- ต้องหาสมดุลระหว่างดีไซน์ที่ดีกับเนื้อหา หรือจุดมุ่งหมาย

- ถ้าไม่ระวังเนื้อหาจะดังกว่าดีไซน์จนไม่ต้องมีดีไซน์ก็ได้

- ในทางกลับกัน ถ้าไม่มีจุดมุ่งหมายที่ดีก็ปราศจากดีไซน์ที่ดี

- ซึ่งสนับสนุนคำพูดของ แคเธอรีน แมคคอย " ถ้าดีไซน์สวยแค่ไหน ถ้าไม่มีอะไรพูดก็... "



- สรุปการทำงานของ Sagmeister

1.เขาคำนึงถึง Concept ของลูกค้าทุกครั้งที่คิดงานเพื่อที่จะนำความต้องการของลูกค้านำไปคิดต่อ

2.เขารวบรวมความคิดและนำมาวิเคราะห์หาแนวคิดที่ดีที่สุดที่สามารถตอบโจทย์ของงานและสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้

3.เขาชอบทำงานที่มีการเล่นกับสายตาเสมอ เขาต้องการให้สะดุดตาทุกครั้งเมื่อมองเห็นในครั้งแรก แล้วชอบที่จะซ่อนอะไรไว้ภายใต้งานของเขา

4.เขามีการวางแผนและมี Sketch เสมอ

5.ชอบใช้ตัวเองเป็นส่วนหนึ่งกับงานบ่อยๆ เพราะว่าเป็นอะไรที่ง่าย และถูกที่จะนำเอามาใช้

6.Typography ที่เขาใช้ เขามักจะใช้ลายมือตัวเองและสร้างตัวอักษรจากสิ่งต่างๆ เขาบอกว่า
เขาไม่อยากถูกครอบงำจาก type faceของคนอื่น

7.เขาชอบที่จะลดลองใช้วัสดุแตกต่างกันไปกับงานของเขา

Wednesday, July 15, 2009

Tuesday, June 16, 2009

โครงการรีไซเคิลตลับหมึกครบวงจร

เอชพีประกาศผลสำเร็จในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิศกรรมในการรีไซเคิลวัสดุพลาสติกเพื่อนำมาผลิตเป็นตลับหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทของเอชพี 

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ทำการรีไซเคิลพลาสติกเพื่อการผลิตตลับหมึกพิมพ์มากกว่า 200 ล้านตลับแล้ว โดยปีที่แล้วได้ใช้พลาสติกรีไซเคิลหนักถึงห้าล้านปอนด์มาผลิตตลับหมึก และบริษัทฯ ยังตั้งใจจะใช้จำนวนพลาสติกมากขึ้นเป็นสองเท่าในปีนี้อีกด้วย 

ด้วยวิธีการและขั้นตอนอันทันสมัยของกระบวนการรีไซเคิลของเอชพี ทำให้สามารถรวบรวมพลาสติกที่มาจากหลากหลายแหล่งและมีระดับคุณภาพที่ต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำธรรมดาหรือแม้กระทั่งตลับหมึกพิมพ์เอชพีที่ใช้เทคนิคในการผลิตขั้นสูง เพื่อนำมารีไซเคิลได้อย่างง่ายดาย 

เอชพีได้ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรนับตั้งแต่การออกแบบ การใช้วัสดุรีไซเคิลทำให้ช่วยประหยัดพลังงานและระงับการกลบฝังพลาสติกที่ใช้แล้วลงดิน ซึ่งตั้งแต่เริ่มกระบวนการรีไซเคิลดังกล่าว เอชพีได้ใช้พลาสติกรีไซเคิลไปแล้วนับเป็นจำนวนมากพอที่จะบรรจุรถแทร็กเตอร์ได้ถึง 200 คัน (1)

“การพัฒนาเทคโนโลยีโดยการนำพลาสติกที่ใช้แล้วมารีไซเคิลเพื่อผลิตตลับหมึกพิมพ์เอชพีทำให้เรามีโอกาสช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์เอชพีที่อาจมีต่อโลกได้”นายกฤษณ์ กิตติทัตน์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาการตลาด ผลิตภัณฑ์ซัพพลาย บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “การลงทุนของเอชพีในการพัฒนาโครงสร้างการรีไซเคิลทำให้การดำเนินงานในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นเพียงการเริ่มต้นของการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น” 

นวัตกรรมที่มาพร้อมกับคุณภาพเต็มเปี่ยม ในการพัฒนากระบวนการนี้ วิศวกร นักเคมี และผู้ร่วมงานของเอชพีได้อุทิศตนเพื่อค้นหาวิธีการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม พร้อมกับส่งมอบสิ่งที่มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือที่ลูกค้าคาดหวังจากเอชพีตลับหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทที่นำกลับมาใช้ผ่านโครงการ HP Planet Partners นั้นล้วนผ่านกระบวนการรีไซเคิลที่ทำให้ตลับหมึกดังกล่าวคืนกลับไปเป็นวัตถุดิบอย่างพลาสติกหรือโลหะ โดยเอชพีได้นำวัสดุที่ใช้แล้วเหล่านั้น (พลาสติกจากตลับหมึก) นำมาผลิตโดยผ่านขั้นตอนการผสมผสานกับยางสนและสารเติมแต่ง เพื่อให้แน่ใจว่าตลับหมึกพิมพ์ที่ผลิตขึ้นมาใหม่นั้นตรงตามมาตรฐานการผลิตชั้นสูงของเอชพี 

ส่วนประกอบวัสดุรีไซเคิลในตลับหมึกพิมพ์เอชพีอาจมีปริมาณแตกต่างกันไปตั้งแต่ 70 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ของพลาสติกทั้งหมดที่ใช้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้รับการยอมรับเนื่องจากผ่านการทดสอบในเรื่องของคุณภาพสม่ำเสมอ ซึ่งต่างจากบริษัทอื่นๆ ที่เพียงแต่นำตลับหมึกเก่ากลับมาผลิตใหม่ เอชพีได้พบวิธีหล่อส่วนประกอบพลาสติกรีไซเคิลเหล่านี้เข้ากับตลับหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทเอชพีได้รับการเชิดชูจากแวดวงอุตสาหกรรม กระบวนการรีไซเคิลอันทันสมัยของเอชพีนี้ได้รับการยอมรับจากสมาคมวิศวกรพลาสติก (Society of Plastics Engineers) ซึ่งเป็นองค์กรการค้าของผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับพลาสติก โดยสมาคมจะมอบรางวัลเกียรติคุณสูงสุดให้กับเอชพีที่งานประชุมสิ่งแวดล้อมพลาสติกโลก (Global Plastics Environment Conference) ในเดือนมีนาคมนี้ 

“การนำวัสดุพลาสติกมารีไซเคิลเพื่อผลิตตลับหมึกพิมพ์ใหม่โดยผ่านขั้นตอนการผลิตชั้นสูงของเอชพีนั้นถือเป็นการแสดงถึงนวัตกรรมทางวิศวกรรมระดับสูง ความสำเร็จอันน่าทึ่งนี้ได้มาจากความพากเพียรและความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ของเอชพีและทีมงานซึ่งได้ใช้เวลาในการคิดค้นมาเป็นเวลาหลายปี” นายกฤษณ์ กล่าวปิดท้าย 

ออกแบบโดยคำนึงสิ่งแวดล้อม 

เอชพีให้ความสำคัญในการผลิตตลับหมึกพิมพ์โดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ นับตั้งแต่การออกแบบ การผลิต จนกระทั่งถึงการรีไซเคิล การนำวัสดุพลาสติกที่ใช้แล้วมารีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นตลับหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทเอชพีนั้น นับเป็นการปิดช่องโหว่การจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ 

การนำส่วนประกอบรีไซเคิลมาใช้นับเป็นความก้าวหน้าล่าสุดของโครงการออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อม (Design for Environment) ของเอชพี โดยลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของตลับหมึกพิมพ์เอชพีผ่านทางการใช้วัตถุดิบ ขั้นตอนการรีไซเคิลที่สะดวกสบาย และประสิทธิภาพของการบรรจุหีบห่อ 

โครงการ HP Planet Partners ให้บริการรับคืนตลับหมึกพิมพ์ทั้งในประเทศและระดับภูมิภาคโดยดำเนินการในประเทศต่างๆ กว่า 45 ประเทศ ลูกค้าสามารถมั่นใจในการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมของเอชพี เพราะตลับหมึกพิมพ์ที่รับคืนผ่านทางโครงการจะไม่ถูกนำไปเติมหมึก ขายต่อ หรือส่งไปฝังกลบลงดิน


แหล่งที่มา http://technology.thaiza.com/เอชพีริเริ่มโครงการรีไซเคิลตลับหมึกครบวงจร_1212_109348_1212_.html

โครงการฉลากเขียว



แหล่งที่มา http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_J/2552_57_179_P29_36.pdf

logo cotton natural world



logo cotton natural world รักษ์โลกให้สดใสด้วยเส้นใยฝ้ายธรรมชาติ


Sunday, November 23, 2008

Wednesday, January 2, 2008